บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบการใช้คำ ชุดที่ 6

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  ข้อใด ใช้ลักษณนามผิด
ก.  ชวนสาวนมีสวนคนละหลายไร่
ข.  เข็มขัดเส้นที่เธอคาดสั้นมาก
ค.  นาฬิกาเรือนนั้น เดินเที่ยงมาก
ง.  หมวกใบนั้น สวยมาก

ข้อที่  2.  ข้อใด ที่ไม่ใช้ลักษณะนาม “เล่ม”
ก.  สมุด
ข.  ไม้บรรทัด
ค.  เข็ม
ง.  เทียน

ข้อที่  3.  ข้อใด มีคำที่ไม่เข้าพวก
ก.  คลุก   เคล้า   คละ
ข.  โยน   ขว้าง   ปา
ค.  ตก   ร่วง   หล่น
ง.  แบก   หาม   หิ้ว

ข้อที่  4.  ข้อใด มีแต่คำพวกเดียวกัน
ก.  คุณหลวง   คุณพระ   พระยา
ข.  ฉาบ   ฉิ่ง   กระดิ่ง
ค.  แมงลัก   แมงดา   แมงมุม
ง.  สบง   จีวร   เสื้อกล้าม

ข้อที่  5.  ข้อใด มีคำที่ไม่เข้าพวก
ก.  โครมคราม   โคลงเคลง   โฉ่งฉ่าง
ข.  ฟ้าแลบ   ฟ้าร้อง   ฟ้าผ่า
ค.  บานชื่น   บานเช้า   บานเย็น
ง.  ศร   ธนู   เกาทัณฑ์

เฉลย

ข้อที่  1.  ข้อใด ใช้ลักษณนามผิด
ก.  ชวนสาวนมีสวนคนละหลายไร่
ข.  เข็มขัดเส้นที่เธอคาดสั้นมาก
ค.  นาฬิกาเรือนนั้น เดินเที่ยงมาก
ง.  หมวกใบนั้น สวยมาก

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก. ซึ่งควรเขียน ดังนี้  ชวนสาวนมีสวนคนละหลายขนัด
คำว่า “ขนัด” พจนานุกรมให้ความหมายไว้ ดังนี้
ขนัด น. แถว, แนว, เช่น เรือแล่นเป็นขนัด; ลักษณนามใช้เรียกสวนที่มีคันดินกั้นเป็นตอนๆ เช่น สวนขนัดหนึ่ง สวน ๒ ขนัด. ว. แออัด ในคําว่า แน่นขนัด.

ข้อที่  2.  ข้อใด ที่ไม่ใช้ลักษณะนาม “เล่ม”
ก.  สมุด
ข.  ไม้บรรทัด
ค.  เข็ม
ง.  เทียน

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.  คำลักษณนามของไม้บรรทัดคือ “อัน”

ข้อที่  3.  ข้อใด มีคำที่ไม่เข้าพวก
ก.  คลุก   เคล้า   คละ
ข.  โยน   ขว้าง   ปา
ค.  ตก   ร่วง   หล่น
ง.  แบก   หาม   หิ้ว

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง.  คำในข้อนี้ พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้

แบก ก. ยกของที่มีนํ้าหนักขึ้นวางบนบ่า เช่น แบกของ แบกปืน, โดยปริยายหมายความว่า รับภาระหนัก, มีความรับผิดชอบมาก, เช่น แบกภาระเข้าไว้มาก แบกงานไว้มาก.
หาม  ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งห้อยกลางไม้หรือวางบนเปลเป็นต้น แล้วช่วยกันหิ้วหรือยกไป, ช่วยกันยกหัวและท้ายพาไป.
หิ้ว ก. จับหรือถือให้ห้อยถ่วงลงมา.

จะเห็นว่า “หาม” กับ “หิ้ว” จะคล้ายกัน ส่วน “แบก” นั้นต่างออกไป

ข้อที่  4.  ข้อใด มีแต่คำพวกเดียวกัน
ก.  คุณหลวง   คุณพระ   พระยา
ข.  ฉาบ   ฉิ่ง   กระดิ่ง
ค.  แมงลัก   แมงดา   แมงมุม
ง.  สบง   จีวร   เสื้อกล้าม

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก. ข้ออื่นที่คำที่แตกต่างกัน คือ คำที่มีตัวอักษรสีแดง

ข้อที่  5.  ข้อใด มีคำที่ไม่เข้าพวก
ก.  โครมคราม   โคลงเคลง   โฉ่งฉ่าง
ข.  ฟ้าแลบ   ฟ้าร้อง   ฟ้าผ่า
ค.  บานชื่น   บานเช้า   บานเย็น
ง.  ศร   ธนู   เกาทัณฑ์

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.  คำในข้อนี้ พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้

โครมคราม  [โคฺรมคฺราม] ว. เสียงดังเช่นนั้น.
โคลงเคลง ๑  ก. โคลงไปโคลงมา. ว. อาการที่รู้สึกวิงเวียนคล้ายอยู่ในเรือโคลง.
โคลงเคลง ๒  [โคฺลงเคฺลง] น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Melastoma วงศ์Melastomataceae ดอกสีชมพูหรือม่วงแดง เช่น ชนิด M. malabaricum L.
โฉ่งฉ่าง ว. เสียงอย่างเสียงโลหะกระทบกัน, มีท่าทางเก้งก้างไม่รัดกุม เช่น กิริยาโฉ่งฉ่าง ชกโฉ่งฉ่าง, ส่งเสียงดังอย่างไม่เกรงใจใคร เช่น เขาพูดจาโฉ่งฉ่าง.


จะเห็นว่า “โครมคราม” กับ “โฉ่งฉ่าง” คือ เสียง  “โคลงเคลง” ทั้ง 2 ความหมายไม่เข้าพวกกับเขา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น