บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบการใช้คำ ชุดที่ 9

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  ข้อใดมีคำวิเศษณ์ประกอบนาม
ก.  เสื้อผ้า
ข.  หญ้าอ่อน
ค.  คนไทย
ง.  นกดุเหว่า

ข้อที่  2.  คำว่า “สวย” ในข้อใดเป็นคำกริยา
ก.  คนสวยเป็นอันตราย
ข.  สาวสวยเดินเล่น
ค.  ลูกสาวเขาสวยมาก
ง.  น้องแต่งตัวสวย

ข้อที่  3.  คำว่า “ขัน” ในข้อใดเป็นอกรรมกริยา
ก.  แม่ใช้ขันตักน้ำ
ข.  เขาเป็นคนขยันขันแข็ง
ค.  น้องกำลังขันตะปู
ง.  ไก่ขันแต่เช้าตรู่

ข้อที่  4.  ข้อใดเป็นสกรรมกริยาทั้งหมด
ก.  นั่ง   นอน   ไป
ข.  คือ   เหมือน   ยืน
ค.  กิน   เขียน   ตี
ง.  กำลัง   เดิน  จง

ข้อที่  5.  ข้อใดใช้คำบุพบทไม่ถูกต้อง
ก.  พี่มากับน้อง
ข.  ถวายของแก่พระสงฆ์
ค.  ทำคุณแก่คนพาล
ง.  คิดคดต่อมิตร

ข้อที่  6.  ข้อใดเป็นลักษณนามของ “เลื่อย”
ก.  อัน
ข.  เล่ม
ค.  ปื้น
ง.  ใบ

ข้อที่  7.  ข้อใดเป็นลักษณนามของ “ขลุ่ย”
ก.  อัน
ข.  ท่อน
ค.  ดุ้น
ง.  เลา

ข้อที่  8.  ข้อใดใช้ลักษณนามไม่ถูกต้อง
ก.  เกวียน 2 เล่ม
ข.  เรือน 2 หลัง
ค.  แหวน 3 วง
ง.  พระสงฆ์ 4 องค์


เฉลย

ข้อที่  1.  ข้อใดมีคำวิเศษณ์ประกอบนาม
ก.  เสื้อผ้า
ข.  หญ้าอ่อน
ค.  คนไทย
ง.  นกดุเหว่า

วิเคราะห์

คำวิเศษณ์ พจนานุกรมให้ความหมาย ไว้ดังนี้

วิเศษณ, วิเศษณ์  (ไว) น. คําจําพวกหนึ่ง ที่แต่งหรือขยายคํานาม คํากริยา หรือคําวิเศษณ์ เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณ เป็นต้น เช่น คนดี นํ้ามาก ทําดี ดีมาก. (ส.).
อธิบายแบบไทยเป็นไทยก็คือ คำวิเศษณ์สามารถขยายคำนามก็ได้ คำกริยาก็ได้ และขยายคำวิเศษณ์ด้วยกันเองก็ได้

เทคนิคการจำ
คำขยายนั้น เมื่อพิจารณาในด้านของความหมายแล้ว  คำขยายจะไปจำกัดความหมายของคำนามให้แคบลง  เช่น
คำว่า “คน” หมายถึง คนทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด  แต่เมื่อไหร่มีคำขยายเช่น “คนไทย” จะเห็นว่า ความหมายจำกัดขอบเขตลงมาเหลือแค่คนไทยเท่านั้น

เมื่อพิจาณาจากตัวเลือกจะเห็นว่า “หญ้าอ่อน มีความหมายจำกัดขอบเขตลงจากคำว่า “หญ้า” ข้อ ข. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
คำอื่นๆ ที่เหลือเป็นคำประสมทั้งหมด

ข้อที่  2.  คำว่า “สวย” ในข้อใดเป็นคำกริยา
ก.  คนสวยเป็นอันตราย
ข.  สาวสวยเดินเล่น
ค.  ลูกสาวเขาสวยมาก
ง.  น้องแต่งตัวสวย

วิเคราะห์

คำที่ตัวอักษรสีแดงคือคำกริยาของประโยค  ดังนั้น ข้อ ค. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  3.  คำว่า “ขัน” ในข้อใดเป็นอกรรมกริยา
ก.  แม่ใช้ขันตักน้ำ
ข.  เขาเป็นคนขยันขันแข็ง
ค.  น้องกำลังขันตะปู
ง.  ไก่ขันแต่เช้าตรู่

วิเคราะห์

อกรรมกริยา คือ กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็มีความหมายของประโยคครบถ้วนในระดับพื้นฐานแล้ว 
ในคำตอบด้านบน คำที่มีตัวอักษรสีแดง คือ กริยา  คำที่มีอักษรสีดำ ตัวหนา ขีดเส้นคือ กรรม
คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง.  ประโยค “ไก่ขัน” มีความหมายครบถ้วนในการเป็นประโยคแล้ว ส่วนข้อความ “แต่เช้าตรู่” เป็นคำขยายกริยาให้รู้ว่า ไก่ขันเวลาไหน

ข้อที่  4.  ข้อใดเป็นสกรรมกริยาทั้งหมด
ก.  นั่ง   นอน  ไป
ข.  คือ   เหมือน   ยืน
ค.  กิน   เขียน   ตี
ง.  กำลัง   เดิน  จง

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.  ในการเป็นกริยาของประโยคนั้น
กิน  ต้องมีกรรมว่า กินอะไร
เขียน  ต้องมีกรรมว่า เขียนอะไร
ตี  ต้องมีกรรมว่า ตีอะไร

ข้อที่  5.  ข้อใดใช้คำบุพบทไม่ถูกต้อง
ก.  พี่มากับน้อง
ข.  ถวายของแก่พระสงฆ์
ค.  ทำคุณแก่คนพาล
ง.  คิดคดต่อมิตร

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.  ประโยคที่ถูกเขียนดังนี้  ถวายของแด่พระสงฆ์
คำว่า “แด่” พจนานุกรม เขียนดังนี้
แด่   บ. แก่ (ใช้ในที่เคารพ).

ข้อที่  6.  ข้อใดเป็นลักษณนามของ “เลื่อย”
ก.  อัน
ข.  เล่ม
ค.  ปื้น
ง.  ใบ

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค. 

ข้อที่  7.  ข้อใดเป็นลักษณนามของ “ขลุ่ย”
ก.  อัน
ข.  ท่อน
ค.  ดุ้น
ง.  เลา

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง. 

ข้อที่  8.  ข้อใดใช้ลักษณนามไม่ถูกต้อง
ก.  เกวียน 2 เล่ม
ข.  เรือน 2 หลัง
ค.  แหวน 3 วง
ง.  พระสงฆ์ 4 องค์

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง. ประโยคที่ถูกต้อง เขียนดังนี้ พระสงฆ์ 4 รูป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น