บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบการใช้คำ ชุดที่ 10

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  คำในข้อใด ไม่ใช่ คำสมาส
ก.  ภูมิศาสตร์
ข.  วาตภัย
ค.  หัตถกรรม
ง.  ทรัพย์สิน

ข้อที่  2.  ข้อใดเป็นคำประสม
ก.  น้ำลด
ข.  น้ำค้าง
ค.  น้ำเย็น
ง.  น้ำขึ้น

ข้อที่  3.  คำว่า “เช้าตรู่” เป็นคำชนิดใด
ก.  คำมูล
ข.  คำประสม
ค.  คำแผลง
ง.  คำสมาส

ข้อที่  4.  ข้อใดใช้ไม้ยมกผิด
ก.  ต่างๆ นาๆ
ข.  เดินเร็วๆ
ค.  ขับรถช้าๆ
ง.  ทำตาแดงๆ

ข้อที่  5.  “ผึ้งนางพญาบินมาจากรัง” คำว่า “จาก” เป็นคำอะไร
ก.  คำนาม
ข.  คำวิเศษณ์
ค.  คำบุพบท
ง.  คำสันธาน

ข้อที่  6.  ความดีมีค่าดุจอัญมณี  คำว่า “ดุจ” เป็นคำอะไร
ก.  คำนาม
ข.  คำสันธาน
ค.  คำสรรพนาม
ง.  คำบุพบท

ข้อที่  7.  คำในข้อใด เป็นคำสมาส
ก.  มหรรณพ
ข.  พุทธประวัติ
ค.  สโรบล
ง.  ราชานุญาต

ข้อที่  8.  “จำนง” เป็นคำชนิดใด
ก.  คำมูล
ข.  คำประสม
ค.  คำแผลง
ง.  คำสมาส

เฉลย

ข้อที่  1.  คำในข้อใด ไม่ใช่ คำสมาส
ก.  ภูมิศาสตร์
ข.  วาตภัย
ค.  หัตถกรรม
ง.  ทรัพย์สิน

วิเคราะห์

ข้อ ง. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
คำว่า “สิน” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
สิน  น. เงิน, ทรัพย์, เช่น ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ, มักใช้เข้าคู่กับคำทรัพย์ เป็น ทรัพย์สิน หรือ สินทรัพย์.

ข้อที่  2.  ข้อใดเป็นคำประสม
ก.  น้ำลด
ข.  น้ำค้าง
ค.  น้ำเย็น
ง.  น้ำขึ้น

วิเคราะห์

คำว่า “น้ำลด” กับ “น้ำขึ้น” เป็นประโยค ไม่ใช่คำประสม จึงผิดแน่ๆ ดังนี้
คำว่า “ลด” พจนานุกรมเขียนไว้ดังนี้
ลด ก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทําให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลดธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้องโล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือนอน เช่น ลดตัวลงนั่ง.
ดังนั้น “น้ำลดจึงเป็นประโยค ไม่ใช่คำประสม

คำว่า “ขึ้น” พจนานุกรมเขียนไว้ดังนี้
ขึ้น ๑  ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชคจะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็นรูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจากธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตามทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่งขึ้น ๒ คํ่า.
ขึ้น ๒  ว. ใช้ประกอบคําอื่นเพื่อเน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้งกว่าเดิมเช่น เกิดขึ้น เป็นขึ้น สวยขึ้น สูงขึ้น; เป็นคําประกอบท้ายหมายความว่า มากกว่าเดิม เช่น ดีขึ้น เร็วขึ้น อ้วนขึ้น; เป็นไปตามคําที่ยอหรือยุเป็นต้น เช่น ยกขึ้น ยุขึ้น หนุนขึ้น; ดูสวยกว่าตัวจริง เช่น แต่งตัวขึ้น ถ่ายรูปขึ้น; มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น,ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ.
ดังนั้น “น้ำขึ้นจึงเป็นประโยค ไม่ใช่คำประสม

เหลือคำว่า “น้ำค้าง” กับ “น้ำเย็น” ให้เลือกพิจารณา

ค้าง ๑  ก. ตกลงมาหรือขึ้นไปติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ติดอยู่กลางทาง, ติดอยู่,เช่น เรือค้างแห้ง ค้างหนี้, ยังไม่แล้วเสร็จตามที่กําหนด เช่น ทํางานค้าง; เหลือกหรืออ้าแล้วเอาลงหรือหุบไม่ได้ เช่น ตาค้าง อ้าปากค้าง ขากรรไตรค้าง; แรมคืน, ค้างคืน ก็ว่า. น. ไม้หลักสําหรับให้ไม้เถาขึ้นเกาะ เช่น ค้างพลู ค้างถั่ว.
เย็น ๑  น. เวลาใกล้คํ่า ประมาณ ๑๖๑๘ นาฬิกา.
เย็น ๒  ว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกน้ำแข็งเป็นต้น, หนาว, หายร้อน, ตรงข้ามกับ ร้อน; ไม่รู้สึกกระวนกระวาย เช่น เย็นใจ.
คำว่า “ค้าง” เป็นคำกริยา  ส่วนคำว่า “เย็น” เป็นคำวิเศษณ์ ดังนั้น “น้ำเย็น” จึงเป็นคำประสม ส่วน “น้ำค้าง” เป็นประโยค
ดังนั้น ข้อ ค. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  3.  คำว่า “เช้าตรู่” เป็นคำชนิดใด
ก.  คำมูล
ข.  คำประสม
ค.  คำแผลง
ง.  คำสมาส

วิเคราะห์

คำว่า “เช้า”  “ตรู่”  “เช้าตรู่” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
เช้า  น. เวลาระหว่างรุ่งสว่างกับสาย, เวลาตั้งแต่รุ่งสว่างถึงเที่ยง. ว. ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่รุ่งสว่างถึงเที่ยง เช่น รอบเช้า ผลัดเช้า; เร็วกว่าเวลาที่กําหนดในระหว่างรุ่งสว่างกับสาย เช่น มาแต่เช้า; โดยปริยายหมายความว่า ก่อนเวลาที่กําหนด.
ตรู่ [ตฺรู่] น. เวลาสาง ๆ เริ่มเห็นแสงเงินแสงทอง.
เช้าตรู่  น. เวลาสาง ๆ, เวลาที่แสงเงินแสงทองขึ้น, รุ่งอรุณ.
“เช้าตรู” จึงเป็นคำประสม  ข้อ ข. เป็นคำคอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  4.  ข้อใดใช้ไม้ยมกผิด
ก.  ต่างๆ นาๆ
ข.  เดินเร็วๆ
ค.  ขับรถช้าๆ
ง.  ทำตาแดงๆ

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.  คำว่า “ต่างๆ” กับ “นานา” พจนานุกรมเขียนไว้ดังนี้
ต่าง ๆ  ว. หลายอย่างซึ่งผิดกัน.
นานา  ว. ต่าง ๆ. (ป.).
คำว่า “นานา” เป็นคำๆ หนึ่ง  จึงไม่สามารถใช้ไม้ยมกได้

ข้อที่  5.  “ผึ้งนางพญาบินมาจากรัง” คำว่า “จาก” เป็นคำอะไร
ก.  คำนาม
ข.  คำวิเศษณ์
ค.  คำบุพบท
ง.  คำสันธาน

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.

ข้อที่  6.  ความดีมีค่าดุจอัญมณี  คำว่า “ดุจ” เป็นคำอะไร
ก.  คำนาม
ข.  คำสันธาน
ค.  คำสรรพนาม
ง.  คำบุพบท

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง. 

ข้อที่  7.  คำในข้อใด เป็นคำสมาส
ก.  มหรรณพ
ข.  พุทธประวัติ
ค.  สโรบล
ง.  ราชานุญาต

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข. 

ข้อที่  8.  “จำนง” เป็นคำชนิดใด
ก.  คำมูล
ข.  คำประสม
ค.  คำแผลง
ง.  คำสมาส

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.
คำว่า “จำนง” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
จำนง ก. ประสงค์, มุ่งหวัง, ตั้งใจ. (แผลงมาจาก จง).




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น