บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบการใช้คำ ชุดที่ 7

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  ข้อใดเป็นคำสรรพนาม
ก.  ฝ่ามือ
ข.  ฝ่าฝืน
ค.  ฝ่าพระหัตถ์
ง.  ฝ่าพระบาท
จ.  ฝ่าอันตราย

ข้อที่  2.  เขาพูดจาน่าเชื่อถือ ประหนึ่งว่า เขาเคยผ่านงานมามาก คำว่า “ประหนึ่งว่า” เป็นคำอะไร
ก.  บุพบท
ข.  สันธาน
ค.  ประพันธวิเศษณ์
ง.  ประพันธสรรพนาม
จ.  กริยาวิเศษณ์

ข้อที่  3.  “เพราะ” ในข้อใดเป็นคำกริยา
ก.  เพลงนี้เพราะกว่าเพลงอื่นๆ
ข.  เขาร้องเพลงเพราะมาก
ค.  เขาชอบเพลงเพราะๆ
ง.  ปลาหมอตายเพราะปาก
จ. เขาตายเพราะถูกรถชน

ข้อที่  4.  ข้อใด ใช้เครื่องหมายผิด
ก.  เขาซื้อที่ๆ กรุงเทพฯ
ข.  ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ค.  ถามทำไม?
ง.  ในน้ำมีปลาหลายชนิด เช่น ปลาสร้อย, ปลาสวาย ฯลฯ
จ.  “ระวังตัวกลัวครูหนูเอ๋ย ไม้เรียวเจียวเหวย กูเคยเข็ดหลาบขวาบเขวียว”

ข้อที่  5.  คำว่า “ต่อ” ในข้อใดเป็นคำบุพบท
ก.  คุณเอากำลังต่อโทรศัพท์
ข.  เขานั่งคุยกันสองต่อสอง
ค.  อย่ามาต่อล้อต่อเถียงกับฉัน
ง.  น้ำประปารั่วตรงข้อต่อ
จ.  เขาเล่าต่อไปเรื่อยๆ

เฉลย

ข้อที่  1.  ข้อใดเป็นคำสรรพนาม
ก.  ฝ่ามือ
ข.  ฝ่าฝืน
ค.  ฝ่าพระหัตถ์
ง.  ฝ่าพระบาท
จ.  ฝ่าอันตราย

วิเคราะห์

คำว่า “ฝ่า” พจนานุกรมให้ความหมายไว้ ดังนี้
ฝ่า ๑  น. พื้นของมือและเท้า, มักพูดเข้าคู่กันว่า ฝ่ามือฝ่าเท้า.
ฝ่าพระบาท  ส. ท่าน (ใช้แก่เจ้านาย), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ฝ่า ๒  ก. กล้าผ่าน (เข้าไปหรือออกมา) หรือฝืนอยู่ในที่อันตราย, ทนรับ, ทนสู้, เช่น ฝ่าอุปสรรค ฝ่าอันตราย; ทวน เช่น ฝ่ากระแสคลื่น.
ฝ่าฝืน  ก. ขัดขืน, ล่วง, ละเมิด.
คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง.

ข้อที่  2.  เขาพูดจาน่าเชื่อถือ ประหนึ่งว่า เขาเคยผ่านงานมามาก คำว่า “ประหนึ่งว่า” เป็นคำอะไร
ก.  บุพบท
ข.  สันธาน
ค.  ประพันธวิเศษณ์
ง.  ประพันธสรรพนาม
จ.  กริยาวิเศษณ์

วิเคราะห์

คำ “ประหนึ่งว่า” ไม่มีในพจนานุกรม มีแต่คำว่า “ประหนึ่ง” กับ “ว่า” ซึ่งพจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ประหนึ่ง  สัน. เช่น, ดัง, เหมือน.
ว่า  ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน;
ดุ เช่น อย่าเอะอะไปเดี๋ยวครูว่าเอา,
ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยงไม่ได้;
ร้อง เช่น ว่าเพลง;
จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า;
ใช้เป็นสันธานเชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า.
(ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่ากิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.

คำ “ประหนึ่งว่าLEXiTRON พจนานุกรมไทย - อังกฤษ ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
ประหนึ่งว่า   [CONJ] as if
Syn. เหมือนกับว่า, ราวกับว่า
Sample:ใจของนางช่างโหดร้ายกว่าชายยิ่งนัก ประหนึ่งว่า ถึงแม้จะเว้งว้างสักปานใด สิ่งที่ได้กลับเป็นเช่นความหมางเมิน
Related word : เหมือนว่า;เหมือนหนึ่งว่า;ราวกับว่า;
ประหนึ่งว่า [conj.] as if
[syn.] เหมือนกับว่า,ราวกับว่า
ตัวอย่างประโยค
ใจของนางช่างโหดร้ายกว่าชายยิ่งนัก ประหนึ่งว่า ถึงแม้จะเวิ้งว้างสักปานใด สิ่งที่ได้กลับเป็นเช่นความหมางเมิน
คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.

ข้อที่  3.  “เพราะ” ในข้อใดเป็นคำกริยา
ก.  เพลงนี้ เพราะ กว่าเพลงอื่นๆ
ข.  เขาร้องเพลง เพราะมาก
ค.  เขาชอบเพลง เพราะๆ
ง.  ปลาหมอตาย เพราะ ปาก
จ. เขาตาย เพราะ ถูกรถชน

วิเคราะห์

เพราะพจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
เพราะ ๑  ว. น่าฟัง, เสนาะ, ไพเราะ, เช่น เสียงเพราะ พูดเพราะ.
เพราะ ๒  สัน. ด้วย, เหตุ, เพื่อ.
คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก. 

คำว่า “เพราะ” ในข้ออื่นๆ ทำหน้าที่ดังนี้
ข.  เขาร้องเพลง เพราะมาก  เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำกริยา “ร้อง” ว่า ร้องเพลงดี มีความไพเราะ
ค.  เขาชอบเพลง เพราะๆ  เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม “เพลง”
ง.  ปลาหมอตาย เพราะ ปาก  เป็นคำบุพบท
จ. เขาตาย เพราะ ถูกรถชน  เป็นคำสันธาน

ข้อที่  4.  ข้อใด ใช้เครื่องหมายผิด
ก.  เขาซื้อที่ๆ กรุงเทพฯ
ข.  ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ค.  ถามทำไม?
ง.  ในน้ำมีปลาหลายชนิด เช่น ปลาสร้อย, ปลาสวาย ฯลฯ
จ.  “ระวังตัวกลัวครูหนูเอ๋ย ไม้เรียวเจียวเหวย กูเคยเข็ดหลาบขวาบเขวียว”

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.  ข้อความที่ถูกต้องเขียนดังนี้ “เขาซื้อที่ที่กรุงเทพฯ”  
คำว่า “ที่” ใน “ซื้อที่” กับ “ที่กรุงเทพ” เป็นคนละประเภทกัน ใช้ไม้ยมกไม่ได้

ข้อที่  5.  คำว่า “ต่อ” ในข้อใดเป็นคำบุพบท
ก.  คุณเอากำลังต่อโทรศัพท์
ข.  เขานั่งคุยกันสองต่อสอง
ค.  อย่ามาต่อล้อต่อเถียงกับฉัน
ง.  น้ำประปารั่วตรงข้อต่อ
จ.  เขาเล่าต่อไปเรื่อยๆ

วิเคราะห์

ต่อ  . เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาวออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ;
เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ;
ทําให้ติดอย่างไฟเช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน;
ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ;
ท้าพนันโดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่ายเห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง;
นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่.
. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ.
. ออกจะ, น่าจะ, ท่าจะ, เช่น มันต่อจะชอบกลเจ้ามณฑา. (สังข์ทอง);
ถัดไป,สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ;
เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ;
เรียก ''สิ่งที่เชื่อมเข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ.
. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, ราย, เช่น ต่อคน ต่อปี; เทียบส่วนกัน เช่น ๓ ต่อ ๑;
ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครูศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
จะเห็นว่า “ต่อ” เป็นคำกริยา คำนาม คำวิเศษณ์ และคำบุพบท ได้
พจนานุกรมเก็บคำลูกของคำว่า “ต่อ” ที่เกี่ยวข้องกับข้อสอบข้อนี้ ไว้ดังนี้
ต่อโทรศัพท์ ก. เดินสายเพื่อติดตั้งโทรศัพท์; ติดต่อสื่อสารโดยการหมุนหรือกดเลขหมาย บนหน้าปัดเครื่องโทรศัพท์.
ต่อล้อต่อเถียง ว. โต้เถียงกันไปมาไม่หยุดหย่อน.
คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข. 

คำว่า “ต่อ” ในข้ออื่นๆ ทำหน้าที่ดังนี้

ก.  คุณเอากำลังต่อโทรศัพท์ ทำหน้าที่เป็นคำกริยา 
ค.  อย่ามาต่อล้อต่อเถียงกับฉัน ทำหน้าที่เป็นคำวิเศษณ์ 
ง.  น้ำประปารั่วตรงข้อต่อ ทำหน้าที่เป็นคำนาม

จ.  เขาเล่าต่อไปเรื่อยๆ ทำหน้าที่เป็นคำวิเศษณ์   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น