บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

คำกริยา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า “กริยา” ไว้ ดังนี้

กริยา (ไว) น. คําที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม. (ส. กฺริยา; ป. กิริยา)..

ชนิดของคำกริยา

คำกริยาแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ดังนี้

1. อกรรมกริยา
อกรรมกริยา คือ กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ

ตัวอย่าง
  • ครูยืน
  • น้องนั่งบนเก้าอี้
  • ฝนตกหนัก
  • เด็กๆ หัวเราะ
  • คุณลุงกำลังนอน


2. สกรรมกริยา
สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ

ตัวอย่าง
  • แม่ค้าขายผลไม้
  • น้องตัดกระดาษ
  • ฉันเห็นงูเห่า
  • พ่อซื้อของเล่นมาให้น้อง


3. วิกตรรถกริยา
วิกตรรถกริยา คือ กริยาที่ต้องมีส่วนเติมเต็มมารับ  ส่วนเติมเต็มอาจเป็นคำนาม หรือคำสรรพนามเช่นคำว่า เป็น เหมือน คล้าย เท่าคือ เสมือน ดุจ

ตัวอย่าง
  • พี่ชายของฉันเป็นตำรวจ
  • เธอคือนักแสดงที่ยิ่งใหญ่
  • ลูกดุจแก้วตาของพ่อแม่
  • แมวคล้ายเสือ


ขอให้สังเกตดูว่า ประธานกับส่วนเติมเต็มเป็นสิ่งเดียวกัน  ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ วิกตรรถกริยา ก็คือ verb to be

4. กริยานุเคราะห์
กริยานุเคราะห์ คือ กริยาช่วย เป็นคำที่เติมหน้าหรือหลังคำกริยาหลักในประโยคเพื่อช่วยขยายความหมายของคำกริยาสำคัญ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นคำว่า กำลัง จะ ได้ แล้ว ต้อง อย่า จง โปรด ช่วย ควร คงจะ อาจจะ เป็นต้น เช่น

ตัวอย่าง
  • เขาไปแล้ว
  • โปรดฟังทางนี้
  • เธออาจจะถูกตำหนิ
  • ลูกควรเตรียมตัวให้พร้อม
  • เขาคงจะมา
  • จงแก้ไขงานให้เรียบร้อย


ข้อสังเกต กริยาคำว่า ถูก ตามปกติจะใช้กับกริยาที่มีความหมายไปในทางไม่ดี เช่น ถูกตี ถูกดุ ถูกตำหนิ ถ้าความหมายในทางดีอาจใช้คำว่า ได้รับ เช่น ได้รับคำชมเชย ได้รับเชิญ เป็นต้น

5. กริยาสภาวมาลา
กริยาสภาวมาลา คือ กริยาที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม อาจเป็นประธาน เป็นกรรม หรือบทขยายของประโยคก็ได้ เช่น

ตัวอย่าง
  • เขาชอบออกกำลังกาย (ออกกำลังกายเป็นกรรม)
  • กินมากทำให้อ้วน (กินมากเป็นประธาน)
  • นอนเป็นการพักผ่อนที่ดี (นอนเป็นประธาน)


โดยสรุป หน้าที่ของคำกริยา มี 5 ประการ ดังนี้
  1. ทำหน้าที่เป็นกริยาสำคัญของประโยค เช่น คนกินข้าว นกบินมาเป็นฝูง เป็นต้น
  2. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น กินมากทำให้อ้วน เป็นต้น
  3. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น ฉันชอบเต้นแอร์โรบิกตอนเช้า เป็นต้น
  4. ทำหน้าที่ช่วยขยายกริยาสำคัญให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น พี่คงจะกลับบ้านเย็นนี้ เป็นต้น
  5. ทำหน้าที่ช่วยขยายคำนามให้เข้าใจเด่นชัดขึ้น เช่น ฉันชอบกินก๋วยเตี๋ยวผัด น้องชายชอบบะหมี่แห้ง เป็นต้น



2 ความคิดเห็น: